สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้าน


June 9, 2016 Facebook Twitter LinkedIn Google+ Latest News


7 สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้าน

 

1. สถานที่ตั้งของบ้าน

การซื้อบ้านหรือการสร้างบ้านต้องคำนึงถึงสถานที่นั้นๆ ว่าสามารถตอบโจทย์ในการใช้ชีวิตประจำวันของเราได้หรือไม่ ใกล้สถานที่ทำงานหรือใกล้แหล่งชุมชน คนส่วนมากต้องการบ้านหรือแหล่งที่อยู่อาศัยที่ใกล้แหล่งชุมชนหรืออยู่ในพื้นที่แหล่งความเจริญ เช่น ที่อยู่ติดรถไฟฟ้า ถนนมีรถประจำทางผ่าน ห้างสรรพสินค้า เดินทางสะดวกง่ายต่อการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ส่วนมากผู้คนจะชอบอาศัยอยู่ตามพื้นที่ในตัวเมือง เนื่องจาก ง่ายในการเดินทางและใกล้แหล่งอุปโภค บริโภคอีกด้วย

ความปลอดภัยในพื้นที่นั้นๆก็มีส่วนสำคัญในการเลือกที่จะสร้างหรือซื้อแหล่งที่อยู่อาศัยในย่านนั้นๆ สภาพสิ่งแวดล้อมต่างๆภายรอบที่ดี รวมถึงอาจเป็นพื้นที่ที่สามารถต่อยอดไปได้ในอนาคต เช่น อสังหาริมทรัพย์ที่มีสามารถทำธุรกิจได้ การซื้อบ้านหรือที่ดินเพื่อการเกร็งกำไรในอนาคตระยะยาว เป็นต้น

2. ทิศทางแดดลม กับการวางตำแหน่งของตัวบ้าน

ปกติแสงแดดจะวิ่งเป็นแนวตะวันออกแล้วอ้อมโค้งไปทางใต้ก่อนจะตกในทิศตะวันตก จะทำให้ทิศใต้ไปจนถึงทิศตะวันตกได้รับแสงมากที่สุดของวันคือตั้งแต่หลังเที่ยงไปจนถึงห้าโมงเย็น ด้านนี้จึงควรเป็นส่วนหลังบ้านและส่วนซักล้างหรือกิจกรรมอื่นที่ต้องการแสงจำนวนมากๆ ส่วนทางทิศตะวันออกจะได้รับแสงอ่อนๆในตอนเช้าและแสงจะแรงมาก ยิ่งทิศเหนือแล้วยิ่งได้รับแดดน้อยที่สุด 2 ด้านนี้จึงเหมาจะวางตำแหน่งของห้องพักผ่อนที่ต้องการแสงรบกวนน้อย เช่น ห้องนอนและห้องนั่งเล่น นิยมวางแนวด้านแคบของตัวบ้านหันไปทางทิศทางรับแดด เพื่อให้ผนังที่รับแดดมีน้อยที่สุด ทำให้ผนังสามาถดูดกลืนความร้อนในปริมาณน้อยและทำให้ภายในบ้านไม่ร้อนจนเกินไปในเวลากลางคืน ส่วนลมนั้นบ้านที่ดีด้านยาวของบ้านจึงควรหันเข้าหาทิศทางลมเพื่อให้ลมธรรมชาติพัดเข้าตัวบ้านเพื่อระบายความร้อนออกไปให้ได้มากที่สุด

3. รูปแบบและการประเมิณการก่อสร้างบ้าน

การสร้างแบบบ้านในแต่ละแบบก็มีค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแบบบ้านสไตล์ต่างๆ เช่น แบบบ้านสไตล์โมเดิร์น ก็จะเป็นบ้านแบบเรียบๆ ดูนี๊ยบๆเป็นหลัก ไม่มีความซับซ้อนมากมาย แต่บางแบบก็มีความซับซ้อนต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการทำ ช่างก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการลงทุนก่อสร้างบ้านอาศัย ดังนั้นเราเลือกรูปแบบที่ชอบเพียงอย่างเดียวค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เพราะด้วยปัจจัยหลายๆอย่างในการสร้าง เช่น ความยากง่ายของงาน งบประมาณที่กำหนด หรือฝีมือความชำนาญของช่าง เป็นต้น

4. ความต้องการพื้นฐานของเจ้าของบ้าน

การเลือกซื้อบ้านหรือสร้างบ้านต้องคำนึงถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในบ้าน รวมถึงจำนวนสมาชิกของผู้อาศัย บ้านหลังเล็ก-ใหญ่ ตามจำนวนของผู้อยู่อาศัย การใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของผู้อยู่อาศัยชอบทำกิจกรรมแบบไหน ต้องการห้องนั่งเล่นกว้าง-แคบ หรือห้องน้ำขนาดเท่าใด ชอบบ้านลักษณะแบบไหน เช่น บ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ บ้านแฝด ทาวเฮ้าส์และอื่นๆ

5. การวางตำแหน่งห้องต่างๆ

การจัดตำแหน่งหรือโซนนิ่งของห้องต่างๆ ส่วนมากจะมีทั้งเขตสาธารณะของบ้านและเขตส่วนบุคคลของผู้อาศัยในบ้าน แยกออกโดย ส่วนของสาธารณะจะเป็นส่วนของห้องรับแขก ห้องรับประทานอาหาร เป็นต้น ส่วนมากแขกหรือผู้อยู่อาศัยจะพบปะกันที่ส่วนของสาธารณะ บ้านจึงต้องมีห้องรับแขกเป็นส่วนหน้าสุดของบ้าน เมื่อแขกได้เข้ามาในบ้านจะต้องพบกับห้องรับแขกเป็นห้องแรก และส่วนของบุคคล จะเป็นห้องที่เจ้าของห้องเท่านั้นที่สามารถเข้าห้องนั้นๆได้ เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน เป็นต้น เนื่องจากเป็นส่วนของบ้านที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง

6. ความสูงของฝ้าเพดาน

โดยปกติความสูงฝ้าโดยทั้งไป (วัดจากระดับพื้นถึงท้องฝ้า) ควรจะสูงไม่น้อยกว่า 2.40 ม.ซึ่งเป็นความสูงที่กำลังสบายไม่อึดอัดหรือรู้สึกโดนกด และประหยัดด้วย ประหยัดได้อย่างไร? เนื่องจากปัจจุบันวัสดุก่อสร้าง กรุผนังส่วนใหญ่จะทำออกมาที่ตัวเลขรวมได้ 2.40 พอดีเช่น กระเบื้องขนาด 30ซม x 30ซม หากปู 8 แถวก็จะได้ความสูง 2.40 พอดี เพราะถ้าหากปูแค่ 7 แถวก็จะได้ความสูงฝ้าแค่ 2.10 ม.ซึ่งเป็นระดับฝ้าที่เตี้ยเกินไปนั่นเอง และยังทำให้กระเบื้องไม่เหลือเศษให้ต้องทิ้ง หากต้องกรุในปริมาณมากๆก็สามารถช่วยลดงบในการซื้อวัสดุกรุผนังลงได้อีกด้วย เป็นต้น

7. ทิศทางของประตูบ้านและห้องต่างๆ

ประตูหน้าบ้านด้านที่จะต้องโดนแดดโดนฝนหรือฝนสาด จะต้องเปิดออกนอกบ้านเท่านั้น เพราะการเปิดออกจะบังคับให้บังใบของวงกบประตูเป็นตัวกันน้ำที่จะเข้าบ้านไปโดยปริยายและควรลดระดับพื้นที่ขอบล่างของประตูลงซัก 1 ซม เพื่อกันน้ำย้อนเข้าบ้านนั้นเอง และที่สำคัญคือประตูหน้าบ้านควรกว้างอย่างน้อย 90 ซม เพื่อเผื่อไว้สำหรับตอนขนของชิ้นใหญ่ๆ เข้าบ้านยิ่งเป็นประตูเปิดคู่ยิ่งดีเลย ต่อมาก็คือประตูห้องน้ำ ในที่นี้จะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ

1) กรณีห้องน้ำลดระดับและไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วนเปียกและส่วนแห้ง ให้เปิดประตูเข้าด้านใน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากการชำระล้างกระเซ็นออกมาด้านนอกห้องได้ ( หลักการเดียวกับประตูทางเข้า)
2) ในกรณีที่ห้องน้ำแบ่งเป็นส่วนแห้งกับส่วนเปียกออกจากกันอย่างชัดเจน อันนี้แล้วแต่ชอบเลย เพราะไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำอีกต่อไปนั้นเองนอกจากนั้นประตูที่เหลือนั้นจะเปิดไปทางทิศทางไดจะเปิดเข้าห้องหรือออกจากห้องก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่ความเหมาะสม

Join our website free today!

Register

© Copyright 2015-2019 - http://gorsangthai.com DMCA.com Protection Status